2552/08/26

PNO3. "ความตึงผิว" ช่วงที่ 2

จากการทดลองดังกล่าว สามารถนำมาอธิบายเกี่ยวกับทิศทางของแรงตึงผิวที่กระทำต่อห่วงวงกลม จากรูปที่ 19.10 ได้ดังนี้ ก่อนที่ห่วงวงกลมจะหลุดพ้นจากผิวของเหลวในรูปทรงกระบอก ห่วงวงกลมจะดึงผิวของเหลวขึ้นมา 2 ผิว คือ ผิวของเหลวภายในห่วงวงกลมและผิวของเหลวภายนอกห่วงวงกลม ดังรูปที่ 19.13 ซึ่งแสดงภาคตัดขวางตามแนวดิ่งของห่วงวงกลมที่จะหลุดจากผิวของเหลว

รูปที่ 19.13 แสดงภาคตัดขวางตามแนวดิ่งของห่วงวงกลม จากรูปที่ 19.10

จากรูปที่ 19.13 จะเห็นได้ว่า ผิวของเหลวที่สัมผัสกับห่วงวงกลมจะอยู่ในแนวดิ่ง และเส้นขอบของห่วงวงกลมที่สัมผัสกับผิวของเหลวมีอยู่ 2 ขอบ คือ ขอบในและขอบนอกของห่วงวงกลม ดังนั้น ทิศของแรงตึงผิวของของเหลวที่กระทำต่อห่วงวงกลมจะมีทิศตามหัวลูกศรสีดำ 4 เส้น นั่นคือ ขนานกับผิวของเหลวและตั้งฉากกับเส้นขอบที่ห่วงวงกลมสัมผัสอยู่

ในของเหลวชนิดเดียวกัน แรงตึงผิวที่กระทำต่อวัตถุชนิดเดียวกันแต่มีรูปร่างไม่เหมือนกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน แต่อัตราส่วนระหว่างแรงตึงผิวต่อความยาวของผิวของเหลวที่ขาดในของเหลวชนิดเดียวกันจะมีค่าเท่ากันเสมอ ไม่ว่าวัตถุที่ถูกดึงขึ้นจากผิวของเหลวจะมีรูปร่างเป็นอย่างไรก็
ตาม อัตราส่วนนี้ถูกเรียกว่า ความตึงผิวของของเหลว ดังนั้น จะได้ว่า

โดย คือ ความตึงผิวของของเหลว (นิวตันต่อเมตร)
F คือ ขนาดของแรงตึงผิว (นิวตัน)
L คือ ความยาวของผิวของเหลวที่ขาด (เมตร)


จากรูปที่ 19.13
เราสามารถหาความตึงผิวของของเหลวในภาชนะรูปทรงกระบอกได้ ดังนี้ เมื่อห่วงวงกลมถูกยกขึ้นมาเสมอผิวของเหลวแล้ว จึงให้แรง F กระทำต่อห่วงวงกลมในทิศ ดังรูป และเนื่องจากทิศของแรงตึงผิวที่กระทำต่อห่วงวงกลมตรงกันข้ามกับทิศของแรง F การที่ห่วงวงกลมสามารถหลุดจากผิวของเหลวได้ แสดงว่าแรงตึงผิวของของเหลวนี้เท่ากับ F

สำหรับเส้นขอบของห่วงวงกลมที่สัมผัสกับผิวของเหลวก่อนที่จะหลุดจากผิวของเหลวมีอยู่ 2 ขอบ คือ ขอบในและขอบนอกของห่วงวงกลม ดังนั้น ถ้า R คือรัศมีเฉลี่ยของห่วงวงกลมนี้ เราจะได้ว่าความยาวของผิวของเหลวที่ขาดขณะที่ห่วงวงกลมหลุดจากผิวของเหลวจะเท่ากับ


ดังนั้น จาก
สมการที่ (19.7) สามารถนำมาหาความตึงผิวของของเหลวได้ ดังนี้

แหล่งอ้างอิง : หนังสือ Concept in Physics ม.ปลาย โดย ดร. ณสรรค์ ผลโภค เรื่อง "ความตึงผิว" หน้า 481 - 482

PNO2. "ความตึงผิว" ช่วงที่ 1

PNO4. "ความตึงผิว" ช่วงที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น